โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสำราญ ตำบลสำราญ อำเภอเมืองขอนแก่น

 

สำราญพอเพียง



แนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง


"คนอื่นจะว่าอย่างไรก็ช่างเขา จะว่าเมืองไทยล้าสมัย ว่าเมืองไทยเชยว่าเมืองไทยไม่มีสิ่งที่สมัยใหม่ แต่เราอยู่พอมีพอกิน และขอให้ทุกคนมีความปรารถนาที่จะให้เมืองไทยพออยู่พอกิน มีความสงบ และทำงานตั้งจิตอธิษฐานตั้งปณิธานในทางนี้ที่จะให้เมืองไทยอยู่แบบพออยู่พอกิน ไม่ใช่ว่าจะรุ่งเรืองอย่างยอด แต่ว่ามีความพออยู่พอกิน มีความสงบ เปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆถ้าเรารักษาความพออยู่พอกินนี้ได้ เราก็จะยอดยิ่งยวดได้...”

พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต
วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๑๗ 

“...คำว่าพอเพียง มีความหมายอีกอย่างหนึ่ง มีความหมายกว้างออกไปอีกไม่ได้หมายถึงการมีพอสำหรับใช้ของเท่านั้น แต่มีความหมายว่าพอมีพอกิน...พอมีพอกินนี้ก็แปลว่า เศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง...”

“...พอเพียงนี้ก็หมายความว่า มีกินมีอยู่ ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่หรูหราก็ได้ แต่ว่าพอแม้บางอย่างอาจจะดูฟุ่มเฟือย แต่ถ้าทำให้มีความสุข ถ้าทำได้ก็สมควรที่จะทำ สมควร
ที่จะปฏิบัติ...” 

“...Self-Sufficiency นั้น หมายความว่า ผลิตอะไร มีพอที่จะใช้ไม่ต้องไปขอซื้อคนอื่น อยู่ได้ด้วยตนเอง...”

“...คนเราถ้าพอในความต้องการ ก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อยก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าทุกประเทศมีความคิด อันนี้ไม่ใช่เศรษฐกิจมีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่า พอประมาณไม่สุดโต่งไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข...”

 พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระราชทานเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต
วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๑
 




“...เศรษฐกิจพอเพียงนั้นเขาตีความว่าเป็นเศรษฐกิจชุมชนหมายความว่าให้พอเพียงในหมู่บ้าน หรือในท้องถิ่น ให้สามารถที่จะมีพอกิน เริ่มด้วย พอมี พอกิน พอมีพอกินนี้ได้พูดมาหลายปี ๑๐ กว่าปีมาแล้วให้พอมีพอกิน แต่ว่าพอมีพอกินนี้ เป็นเพียงเริ่มต้นของเศรษฐกิจ เมื่อปีที่แล้วบอกว่า ถ้าพอมีพอกิน คือ พอมีพอกินของตัวเองนั้น ไม่ใช่เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเศรษฐกิจสมัยหิน สมัยหินนั้นเป็นเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนกันแต่ว่าค่อย ๆ พัฒนาขึ้นมา...”

พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 
พระราชทานเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 
ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต 
วันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๒


 “...เศรษฐกิจพอเพียงที่ได้ย้ำแล้วย้ำอีก แปลเป็นภาษาอังกฤษว่า Sufficiency Economy ภาษาไทยก็ต่อว่าไม่มี Sufficiency Economy แต่ว่าเป็นคำใหม่ของเราก็ได้ ก็หมายความว่า ประหยัด แต่ไม่ใช่ขี้เหนียว ทำอะไรด้วยความอะลุ้มอล่วยกัน ทำอะไรด้วยเหตุและผล จะเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแล้วทุกคนจะมีความสุขแต่พอเพียง เศรษฐกิจพอเพียงนี้ เป็นสิ่งที่ปฏิบัติยากที่สุด...”

พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 
พระราชทานเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 
ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๓


“...ฉันพูดเศรษฐกิจพอเพียง ความหมายคือ ทำอะไรให้เหมาะสมกับฐานะของตัวเอง คือทำจากรายได้ ๒๐๐-๓๐๐ บาทขึ้นไป เป็น ๒ หมื่น ๓ หมื่นบาท คนชอบเอาคำพูดของฉัน เศรษฐกิจพอเพียงไปพูดกันเลอะเทอะ เศรษฐกิจพอเพียง คือ ทำเป็น Self-Sufficiency มันไม่ใช่ความหมาย ไม่ใช่แบบที่ฉันคิด ที่ฉันคิด คือ เป็น Self-Sufficiency of Economy เช่น ถ้าเขาต้องการดู TV ก็ควรให้เขามีดู ไม่ใช่ไปจำกัดเขาไม่ให้ซื้อ TV ดู เขาต้องการดูเพื่อสนุกสนาน ในหมู่บ้านไกล ๆ ที่ฉันไป เขามี TV ดู แต่ใช้แบตเตอรี่ เขาไม่มีไฟฟ้า แต่ถ้า Sufficiency นั้น มี TV เขาฟุ่มเฟือย เปรียบเสมือนคนไม่มีสตางค์ไปตัด Suit และยังใส่ Necktie Versace อันนี้ก็เกินไป...”

พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 
พระราชทาน ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข 
วันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๔๔


  จะเห็นได้ว่า เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ง่ายมีความหมายที่ชัดเจน ไม่ยากแก่การรับรู้และการนำไปปฏิบัติ ดังจะเห็นเป็นรูปธรรมที่ปรากฏชัดเจนในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่เกิดผลสำเร็จแล้วมากมาย








หลักเศรษฐกิจพอเพียงกับพุทธศาสนา

"ความดีนั้นจีรัง  แม้นโถมถั่งด้วยโพยภัยเกิด ดับ ฤา น้ำ ไฟ มิอาจลบ ให้ลาง"

              พุทธวจนะ

 



"ถ้าไม่ยึดติด

ก้อไม่เป็นทุกข์"

 ....ท่านทั้งหลายจงอย่าทำตัวเป็นตัวบุ้งตัวหนอนคอยกัดแทะกระดาษแห่งคัมภีร์ใบลานเปล่าๆ 
โดยไม่สนใจพิจารณาสัจธรรมอันประเสริฐที่มีอยู่กับตัว  แต่มัวไปยึดธรรมที่ศึกษามาถ่ายเดียว 
ซึ่งเป็นสมบัติของพระะพุทธเจ้า  มาเป็นสมบัติของตน  ด้วยความเข้าใจผิด 
ว่าตนเรียนรู้และฉลาดพอตัวแล้ว  ทั้งที่กิเลสยังกองเต็มหัวใจยิ่งกว่าภูเขาไฟ  มิได้ลดน้อยลงบ้างเลย 

จงพากันมีสติคอยระวังตัว  อย่าให้เป็นคนประเภทใบลานเปล่าๆ เรียนเปล่าและตายทิ้งเปล่า 
ไม่มีธรรมอันเป็นสมบัติของตัวอย่างแท้จริงติดตัวบ้างเลย" 

....นี่คือคำสอนที่องค์หลวงปู่มั่นเคยพูดอยู่เสมอๆ





พระโอวาทของ

ท่านอรหันต์จี้กง 


อ่านแล้วเก็บรักษา บุญรักษาเนืองนอง
รู้แล้วบอกทั่วกัน บุญกุศลเรืองรอง

  1. ชีวิตย่อมเป็นไปตามลิขิต (ละชั่วทำดี)      วอนขออะไร 
  2. วันนี้ไม่รู้เหตุการณ์ในวันพรุ่งนี้   
  3.    กลุ้มเรื่องอะไร 
  4. ไม่เคารพพ่อแม่แต่เคารพพระพุทธองค์      เคารพทำไม 
  5. พี่น้องคือผู้ที่เกิดตามกันมา 
  6.     ทะเลาะกันทำไม 
  7. ลูกหลานทุกคนล้วนมีบุญตามลิขิต       ห่วงใยทำไม 
  8. ชีวิตย่อมมีโอกาสประสบความสำเร็จ      ร้อนใจทำไม 
  9. ชีวิตใช่จะพบเห็นรอยยิ้มกันได้ง่าย       ทุกข์ใจทำไม 
  10. ผ้าขาดปะแล้วกันหนาวได้      อวดโก้ทำไม 
  11. อาหารผ่านลิ้นแล้วกลายเป็นอะไร      อร่อยไปใย 
  12. ตายแล้วบาทเดียวก็เอาไปไม่ได้      ขี้เหนียวทำไม 
  13. ที่ดินคือสิ่งที่สืบทอดแก่คนรุ่นหลัง   
  14.     โกงกันทำไม 
  15. โอกาสจะได้กลายเป็นเสีย      
  16.  โลภมากทำไม 
  17. สิ่งศักดิ์สิทธิ์อยู่เหนือศีรษะเพียง 3 ฟุต       ข่มเหงกันทำไม 
  18. ลาภยศเหมือนดอกไม้ที่บานอยู่ไม่นาน       หยิ่งผยองทำไม 
  19. ทุกคนย่อมมีลาภยศตามวาสนาที่ลิขิต      อิจฉากันทำไม 
  20. ชีวิตลำเค็ญเพราะชาติก่อนไม่บำเพ็ญ       แค้นใจทำไม (บำเพ็ญไวไว) 
  21. นักเล่นการพนันล้วนตกต่ำ 
  22.      เล่นการพนันทำไม 
  23. ครองเรือนด้วยความประหยัดดีกว่าไปขอพึ่งผู้อื่น      สุรุ่ยสุร่ายทำไม 
  24. จองเวรจองกรรมเมื่อไรจะจบสิ้น 
  25.      อาฆาตทำไม 
  26. ชีวิตเหมือนเกมหมากรุก       คิดลึกทำไม 
  27. ฉลาดมากเกินจึงเสียรู้       รู้มากทำไม 
  28. พูดเท็จทอนบุญจนบุญหมด       โกหกทำไม 
  29. ดีชั่วย่อมรู้กันทั่วไปในที่สุด       โต้เถียงกันทำไม 
  30. ใครจะป้องกันมิให้มีเรื่องเกิดขึ้นได้ตลอด       หัวเราะเยาะกันทำไม 
  31. ฮวงซุ้ยที่ดีอยู่ในจิตไม่ใช่อยู่ที่ภูเขา       แสวงหาทำไม 
  32. ข่มเหงผู้อื่นคือทุกข์ รู้ให้อภัยคือบุญ       ถามโหรเรื่องอะไร 
  33. ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย       วุ่นวายทำไม



 ธรรมะกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงฯ : พระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต ~*  

พอดีว่าได้มีโอกาสเข้าไปเก็บภาพการแสดงปาฐกถาธรรมของท่านมหาสมปอง ตาลปุตฺโต พระนักเทศน์แห่งเว็บ www.dhammadelivery.com

เนื้อความกินใจ(แบบฮาๆบ้าง อึ้งบ้าง) หลายเรื่องด้วยกันเจ้า ..

ท่านแสดงปาฐกถาธรรมจากหัวข้อด้านหลังสุดมาก่อน .. 
กล่าวถึงเรื่องการครองงานนั้น .. 
ธรรมขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีความสำคัญและเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต การทำงานทุกๆ ข้อ สุดแล้วแต่จะหยิบข้อไหน ขึ้นมาใช้ แต่ถ้าจะมุ่งหวังถึงความสำเร็จ ในการทำงาน ต้องยึดปฏิบัติตามหลักธรรมในข้อ อิทธิบาทสี่ หรือ อิทธิบาทธรรม ซึ่งประกอบด้วย 
ฉันทะ หมายถึง ความรักงาน 
วิริยะ หมายถึง ความขยันหมั่นเพียรในการทำงาน 
จิตตะ หมายถึง ความเอาใจใส่ มีใจจดจ่ออยู่กับงาน 
วิมังสา หมายถึง ความรู้จักพิจารณา เหตุสังเกตผลในการทำงาน 

สำหรับใครที่ท้อแท้เรื่องงานเนาะ .. ท่านฝากมาว่า .. 
ถ้าเราทำงานจนเมื่อยมือเหลือเกิน 
ก็จงดีใจเถอะ ที่มีมือให้เมื่อย 
ถ้าเราเดินไปเดินมาจนปวดขาเหลือเกิน 
ก็จงดีใจเถอะ ที่มีขาให้ปวด 
ถ้าเราเห็นหัวหน้า แล้วเซ็งเหลือเกิน 
ก็จงดีใจเถอะ ที่มีหัวหน้าให้เซ็ง 
ถ้าเราเห็นงาน แล้วเราเบื่องานเหลือเกิน 
ก็จงดีใจเถอะ ที่มีงานให้เบื่อ   

"... ในเมื่อคนแต่ละวัยมีอายุและประสบการณ์ชีวิตไม่เท่ากั น อาตมาขอแนะนำให้ใช้หลัก สังคหวัตถุ 4 ซึ่งเป็นหลักครองตนและครองใจคน ได้แก่
1. ทาน คือ การให้ ให้อาหาร ให้ทุนการศึกษา ให้กำลังใจ และที่สำคัญ คือให้อภัยลูกหลานเสมอ 
2. ปิยวาจา คือ การพูดจาไพเราะอ่อนหวาน 
3. อัตถจริยา คือ การบำเพ็ญประโยชน์ และ 
4. สมานัตตา คือ ความคิดในสิ่งต่าง ๆ เสมอกัน ...?





















Advertising Zone    Close
 
Online:  1
Visits:  39,803
Today:  6
PageView/Month:  132

ยังไม่ได้ลงทะเบียน

เว็บไซต์นี้ยังไม่ได้ลงทะเบียนยืนยันการเป็นเจ้าของเว็บไซต์กับ Siam2Web.com